เมนู

8. นิสสยปัจจัย


เหมือนกับนิสสยปัจจัย ในกุสลติกะ มี 13 วาระ.

9. อุปนิสสยปัจจัย


[1261] 1. เสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เสกขธรรม ด้วยอำนาจ
ของอุปนิสสยปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
ปฐมมรรค เป็นปัจจัยแก่ทุติยมรรค ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
ทุติยมรรค เป็นปัจจัยแก่ตติยมรรค ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
ตติยมรรค เป็นปัจจัยแก่จตุตถมรรค ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
มรรค เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติที่เป็นเสกขธรรม ด้วยอำนาจของ
อุปนิสสยปัจจัย.
[1262] 2. เสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่อเสกขธรรม ด้วย
อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 2 อย่าง คือ ที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
มรรค เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติที่เป็นอเสกขธรรม ด้วยอำนาจของ
อุปนิสสยปัจจัย.

[1263] 3. เสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวเสกาขานาเสกข-
ธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือ ที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
พระอริยะทั้งหลายเข้าไปอาศัยมรรคแล้ว ยังสมาบัติที่ยังไม่เกิดให้
เกิดขึ้น เข้าสมาบัติที่เกิดขึ้นแล้ว.
พิจารณาเห็นสังขาร โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ
มรรค เป็นปัจจัยแก่อัตถิปฏิสัมภิทา แก่ธัมมปฏิสัมภิทา แก่นิรุตติ-
ปฏิสัมภิทา แก่ปฏิภาณปฏิสัมภิทา แก่ความฉลาดในฐานะและอฐานะ ของ
พระอริยะทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
ผลสมาบัติ ที่เป็นเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย ด้วยอำนาจ
ของอุปนิสสยปัจจัย.
[1264] 4. อเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่อเสกขธรรม ด้วย
อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น อเสกขธรรม ที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์
ทั้งหลาย ที่เป็นอเสกขธรรมที่เกิดหลัง ๆ ฯลฯ ผลที่เป็นอเสกขธรรม เป็น
ปัจจัยแก่ผลที่เป็นอเสกขธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

[1265] 5. อเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวเสกขานาเสกข-
ธรรม ฯลฯ

มี 3 อย่าง คือ ที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
ผลสมาบัติ ที่เป็นอเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย ด้วยอำนาจ
ของอุปนิสสยปัจจัย.
[1266] 6. เนวเสกขานาเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวเสก-
ขานาเสกขธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือ ที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาที่เป็นเนวเสกขานาเสกขธรรมแล้ว ให้ทาน
สมาทานศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ ฌาน ฯลฯ วิปัสสนา ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ
ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น ก่อมานะ ถือทิฏฐิ.
บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาที่เป็นเนวเสกขานาเสกขธรรม ฯลฯ ปัญญา ราคะ
ฯลฯ ความปรารถนา สุขทางกาย อุตุ โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะแล้ว ให้ทาน
สมาทานศีล ฯสฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์.
ศรัทธาที่เป็นเนวเสกขานาเสกขธรรม ฯลฯ ปัญญา ราคะ ฯลฯ ความ
ปรารถนา สุขทางกาย ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่เป็นเนวเสก-

ขานาเสกขธรรม ฯลฯ แก่ปัญญา แก่ราคะ ฯลฯ แก่ความปรารถนา แก่สุขทาง
กาย แก่ทุกข์ทางกาย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
บริกรรมแห่งปฐมฌาน เป็นปัจจัยแก่ปฐมฌาน ด้วยอำนาจของ
อุปนิสสยปัจจัย.
บริกรรมแห่งเนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานา-
สัญญายตนะ.
ปฐมฌาน เป็นปัจจัยแก่ทุติยฌาน ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย ฯลฯ
อากิญจัญญายตนะ เป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญานาสัญญายตนะ ด้วยอำนาจ
ของอุปนิสสยปัจจัย.
[1267] 7. เนวเสกขานาเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เสกข-
ธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

มี 3 อย่าง คือ ที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บริกรรมแห่งปฐมมรรค เป็นปัจจัยแก่ปฐมมรรค ด้วยอำนาจของ
อุปนิสสยปัจจัย ฯลฯ บริกรรมแห่งจตุตถมรรค เป็นปัจจัยแก่จตุตถมรรค ด้วย
อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
[1268] 8. เนวเสกขานาเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่อเสกข-
ธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูนิสสยะ ได้แก่
สุขทางกาย ฯลฯ ทุกข์ทางกาย ฯลฯ อุตุ โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะ
เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติที่เป็นอเสกขธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

10. ปุเรชาตปัจจัย


[1269] 1. เนวเสกขานาเสกขธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวเสก-
ขานาเสกขธรรม ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ย่อมยินดี
ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภจักษุนั้น ราคะ ย่อมเกิดขึ้น โทมนัส ฯลฯ
บุคคลพิจารณาเห็นโสตะ ฯลฯ หทยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ, ฟังเสียงด้วยโสตธาตุ.
รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็น
ปัจจัยแก่กายวิญญาณ ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย.
ที่เป็น วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่